ส่งออกไทยทรุดไม่เลิก หวั่นฉุดภาคการผลิตแข่งขันยาก ส.อ.ท.วอนรัฐเร่งช่วยกระตุ้น
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ในเดือนมิ.ย. 2566 หัวข้อ “การส่งออกหดตัว กระทบอุตสาหกรรมแค่ไหน” พบว่า การส่งออกของไทยส่งสัญญาณหดตัวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน โดยมีมูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 2566 ที่ 24,340.9 ล้านดอลลาร์ฯ ติดลบ 4.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ 5 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่า 116,344.2 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง 5.1%
ทั้งนี้หากจะทำให้การส่งออกไทยกลับมามีมูลค่าเท่ากับปี 2565 หรือเป็นบวกนั้น คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่า จะต้องมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนในช่วงที่เหลือของปีนี้มากกว่า 24,024 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แรงกดดันอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงในหลายประเทศ รวมทั้งแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนที่น้อยกว่าคาดการณ์ ส่งผลกระทบภาคการส่งออกไทยและอีกหลายประเทศหดตัวในทิศทางเดียวกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ผู้บริหาร ส.อ.ท. ประเมินว่า ภาพรวมการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าไทยในช่วง 5 เดือน ปี 66 ส่วนใหญ่มีทิศทางหดตัว ถึงแม้จะมีบางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถรักษาระดับการส่งออกไว้ได้ โดยปัจจัยสำคัญมาจากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และอาเซียน
นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตยังอยู่ในระดับสูงทั้งราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ/ชิ้นส่วน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท.จึงเสนอให้ภาครัฐเร่งช่วยกระตุ้นการส่งออก และบรรเทาผลกระทบจากการส่งออกที่หดตัว โดยเฉพาะการออกมาตรการดูแลต้นทุนการผลิตให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ เช่น ค่าไฟฟ้า พลังงาน ค่าโลจิสติกส์ การเร่งเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) และการส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีใน FTA ฉบับเดิมให้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าไปยังตลาดเป้าหมายใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น กิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) การจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น